กองการท่องเที่ยวและกีฬา เทศบาลเมืองกระบี่

075-621359 ต่อ 0

สี่แยกเสือเขี้ยวดาบ (Saber Tooth Tiger)

image

เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของ “เสือเขี้ยวดาบ” โดยขุดพบเขี้ยว ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร

เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีการขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของ “เสือเขี้ยวดาบ” โดยขุดพบเขี้ยว ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร รวมทั้งกระดูกชิ้นอื่นๆ ณ เหมืองถ่านหินลิกไนท์ อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ มีอายุ 40-35 ล้านปี ซึ่งได้ขุดพบโดย นายวราวุธ สุธีธร นักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี และได้รับการรับรองโดยมหาวิทยาลัยมองเปลิเอร์ ประเทศฝรั่งเศส

เสือเขี้ยวดาบ เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์เลี้ยงลูกด้วยนม อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชีย ได้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 10,000 ปีก่อน มีขนาดและรูปร่างคล้ายเสือทั่วไป แต่ขาหน้าจะยาวกว่าขาหลัง หางสั้น เขี้ยวข้างบนจะมีลักษณะแบนและโค้งแบบมีดดาบ ยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร สามารถจู่โจมและฉีกกระชากเหยื่อด้วยเขี้ยวที่แหลมคมได้อย่างรวดเร็ว

เทศบาลเมืองกระบี่สร้างประติมากรรมเสือเขี้ยวดาบเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีความรู้เกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่เคยมีในจังหวัดกระบี่ สื่อให้เห็นว่าพื้นที่เมืองกระบี่นั้นมีเสือโคร่งและเสือดำ มากกว่าประชากรกระบี่ เมื่อ 80 ปี ที่แล้ว อีกทั้งยักเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่ง

ประติมากรรมเสือเขี้ยวดาบ ตั้งอยู่ที่ถนนมหาราช ตัดกับถนนหลงพ่อ ทางเข้าตลาดสดมหาราช