กองการท่องเที่ยวและกีฬา เทศบาลเมืองกระบี่

075-621359 ต่อ 0

พิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน Andaman Beads Museum

image

ส่วนหนึ่งของศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน นั่นคือ "พิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน"

ส่วนหนึ่งของศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน ที่มีความน่าสนใจ น่าค้นหาเรื่องราวประวัติศาสตร์ นั่นคือ "พิพิธภัณฑ์ลูกปัดอันดามัน" แหล่งเรียนรู้ด้านลูกปัดโบราณ ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งจากหลักฐานการขุดพบต่างๆ พอที่จะประมาณได้ว่า เมื่อประมาณ 40,000 ปีนั้น ลูกปัดที่เก่าแก่ที่สุดนั้นทำมาจากชิ้นส่วนของสัตว์ต่างๆ เช่น กระดูกสัตว์ เปลือกหอย เขา งา ปะการัง เขี้ยว และฟัน คนสมัยโบราณได้นำวัตถุดิบเหล่านั้นมาขัด ฝน หรือตัดเป็นแท่งๆ จากนั้นจึงเจาะรูร้อยเพื่อใช้ทำเป็นเครื่องประดับ ต่อมาได้มีการพัฒนาวัตถุดิบเป็นหินสี และในยุคเหล็ก ยุคสำริด ได้มีการหลอมโลหะมาทำเป็นลูกปัด จนกระทั่งถึงยุคปัจจุบันลูกปัดยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะลูกปัดหิน และลูกปัดแก้ว ซึ่งลูกปัดแก้วได้รับการสันนิษฐานว่าถูกผลิตขึ้นเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว เพื่อทดแทนลูกปัดหินมีค่า เช่น หินอาเกตและคาร์เนเลียน โดยมีแหล่งผลิตลูกปัดแก้วที่สำคัญๆ อยู่ 3 แหล่ง คือ

1. อียิปต์ ( Egyptian )
2. โรมัน ( Roman )
3. กลุ่มประเทศอิสลาม ทางตะวันออกกลาง ( Islamic influenced Eastern Midditeranian )

สำหรับการสวมใส่ลูกปัดในยุคอดีตนั้น สามารถที่จะจำแนกการใช้งานได้ดังนี้

1. ลูกปัดเป็น เครื่องประดับ ที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งในอดีตมนุษย์ได้นำลูกปัดมาร้อยเรียงต่อกันเพื่อประดับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น สร้อยคอ, สร้อยข้อมือ, สร้อยข้อเท้า, เจาะติดจมูก, ต่างหู, พันรอบเอว, ตกแต่งตามศรีษะ เส้นผม หรือตามความนิยมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ลพท้องถิ่น นอกจากนี้ยังหมายถึงการบ่งบอกฐานะทางสังคมของผู้สวมใส่ลูกปัดได้อีกด้วย

2. ลูกปัดใช้เป็น เครื่องรางของขลัง ตามความเชื่อของศาสนา สิ่งที่ผู้คนเคารพนับถือ หรือใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งสังเกตได้จากลวดลายของลูกปัดที่มีคามหมายสื่อถึงความเชื่อ หรือสิ่งลี้ลับต่างๆ

3. ใช้เป็น เครื่องมือในการรักษาโรค ซึ่งไม่ต่างจากในสมัยนี้เท่าใดนัก ที่เคยเชื่อว่าหินสีสามารถใช้ในการบำบัดโรคต่างๆ ได้

4. ใช้ในการ แลกเปลี่ยนทางการค้าแทนเงินตรา เพราะลูกปัดมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก ทั้งยังมีคุณค่าในตัวเอง ในทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา จึงนิยมใช้กัน

ลูกปัดโบราณในประเทศไทยมีการขุดพบมากมาย ทั้งหินคาร์เนเลี่ยน อาเกตหลากสี ควอทซ์ แลปิส อาร์เมทิส รวมทั้งลูกปัดแก้วแบบต่างๆ ลูกปัดได้รับความนิยมในประเทศไทยจากการทำการค้ากับอินเดียร์ อาณาจักรโรมัน รวมทั้งจีนที่ได้นำลูกปัดแก้วและดินเผาเข้ามา

ทางฝั่งภาคใต้ ย้อนไปในพุทธศวตวรรษที่ 6-7 ในยุคทวาราวดี ศรีวิชัย พบว่า อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เป็นแหล่งค้นพบลูกปัดโบราณที่สำคัญ อาทิ ลูกปัดลายแทงสวรรค์ หรือกุญแจเทพ ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปค้างคาว ซึ่งคนจีนจะเรียกว่า ฮก เป็นสัตว์วิเศษที่บินได้ เดินได้ แบะมีอายุยืน บางอันมีเขียนหรือแกะเป็นภาษาที่อยู่บนลูกปัด เรียกกันว่า "ปัลลวะ" ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤต ที่เรียกกันนี้เกินในพุทธศวรรษที่ 11-12 มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 เซนติเมตร และยังมีลูกปัดที่มีลักษณะเป็นมังกรทำจากหยกขาว อันเป็นเครื่องรางของพระราชาหรือจักรพรรดิ ลูกปัดรูปลักษณะสรุยะเทพ ในปัจจุบันหลายคนเรียกว่าลูกปัดหน้าคนหรือลูกปัดหน้าอินเดียแดง อีกทั้งยังมีแผ่นหินคาร์เนเลียนรูปสลักผู้หญิงโรมัน ซึ่งสันนิษฐานว่าลูกปัดเหล่านี้มาจากแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยเข้ามากับพ่อค้าในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังพบลูกปัดแก้วและหิน ที่มีลวดลายเป็นแบบเฉพาะเช่นเดียวกับที่พบได้ที่ฝั่งตะวันออกใกล้เมืองปอนดิเชรี ของอินเดีย อีกด้วย

นอกจากนี้ทางฝั่งภาคใต้ยังค้นพบลูกปัดโบราณ ที่เมืองท่าโบราณที่เขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ที่มีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าจากทางตะวันตกและตะวันออก พบลูกปัดหินอาเกต ควอตซ์ คาร์เนเลียน เอตช์คาเนเลียน และลูกปัดทองคำ และเมืองท่าในยุคต่อๆ มา ยังพบลูกปัดหินที่ทำจากอะแมทีสต์ ลูกปัดแก้วแบบต่างๆ เช่น ลูกปัดตา ลูกแห้วหลายสี มีขั้วและแบบเกลียว ซึ่งนักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่า อาจจะมาเมื่อครั้งทำการค้ากับชาวจีน เช่นที่เกาะคอเขา (เขาหลัก) จังหวัดพังงา อำเภอท่าชนะ และแหลมโพธิ์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสทิงพระ จังหวัดสงขลา


เชิญชมภาพ 3 มิติ